|
![]() | ศาลเจ้าแม่คลองใหญ่จัดสร้างขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. ใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่พอประมาณได้จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ที่มีภูมิลำเนาอยู่บริเวณใกล้เคียงกับศาลเจ้าแม่ฯ ประมาณอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2472 - 2474 หรือประมาณ 79 ปี ล่วงมาแล้วตามประวัติของเจ้าแม่คลองใหญ่ ท่านได้ลอยน้ำมาในทะเลหน้าอ่าวทะเลคลองใหญ่ โดยลอยมากับแพและได้ลอยมาติดโป๊ะจับปลากลางทะเลของ นายปิ๊กต๊อก แซ่โหงว โดยมีนายปิ๊กติ๊ก แซ่ลี้ (บิดาของนายประไพ ลีฬหสกุลชัย) ซึ่งเป็นหัวหน้าคนงานซ่อมโป๊ะจับปลาอยู่ในขณะนั้น ได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์นี้ด้วย ทั้งสองท่านได้หารือกันในเรื่องนี้ และได้มีความเห็นร่วมกันว่าเห็นสมควรอัญเชิญ "องค์เจ้าแม่คลองใหญ่" ซึ่งเป็นไม้แก่นจันทร์แกะสลักเป็นรูปผู้หญิงสวยงามองค์นี้ขึ้นจากทะเลแล้วสร้างศาลด้วยไม้ให้เป็นที่ประทับขององค์เจ้าแม่ฯ โดยศาลเจ้าแม่ฯ ตั้งอยู่บริเวณสะพาน หมู่ 7 ต.คลองใหญ่ และเพื่อเป็นที่สักการะ บูชาของชาวอำเภอคลองใหญ่สืบต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้มีการก่อสร้างศาลเจ้าแม่ทับทิมหลังใหม่โดยให้มีการถมดินบริเวณชายทะเลพื้นที่หมู่ที่ 7 ต.คลองใหญ่ โดยดำเนินการก่อสร้างเสร็จและมีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2546 พร้อมเปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาในองค์เจ้าแม่ทับทิมคลองใหญ่ได้มากราบไหว้บูชาทุกวัน องค์เจ้าแม่ทับทิมคลองใหญ่นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอคลองใหญ่ ทั้งยังเป็นที่สักการะของพี่น้องชาวประมงของอำเภอคลองใหญ่และชาวเรือทั่วไป ซึ่งกิตติศัพท์ของความศักดิ์สิทธิ์ขององค์เจ้าแม่ทับทิมคลองใหญ่นี้ได้ขจรขจายไปสู่ที่ต่างๆทำให้มีผู้ที่เคารพเลื่อมใสในองค์เจ้าแม่ฯ นำเครื่องเซ่นไหว้อยู่ที่ศาลเจ้าแม่ฯ เป็นประจำทุกวันจนเป็นกิจวัตรประจำวันของศาลเจ้าแม่ฯ แห่งนี้ โดยเฉพาะในวันตรุษจีน, วันสาร์ท และเทศกาลงานประจำปีของศาลเจ้าแม่ฯ จะมีผู้ที่เคารพเลื่อมใสในองค์เจ้าแม่ฯ นำสิ่งของต่างๆ มาเซ่นไหว้กันอย่างเนืองแน่นกันเป็นประจำทุกปี จะมีการจัดงานประจำปีศาลเจ้าแม่ทับทิมคลองใหญ่ ทุกปี โดยจะถือเอาวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 12 (ชิวลักจับยี่ว้วย) ของปีปฏิทินจีนเป็นวันแห่องค์เจ้าแม่ฯ และจะจัดงานเป็นระยะเวลา 5 วัน 5 คืน 08 กรกฎาคม 2564 |
![]() | พระพุทธดิลกโลกเชษฐ์ ปัจจันตคีรีเขตประชานาถ เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร ทรงนั่ง ซึ่งประดิษฐ์สถานบนเขาท่านก๋ง ซึ่งถือเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวอำเภอคลองใหญ่ ทั้งนี้ นางสาวเบญจวรรณ อ่านเปรื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้เป็นประธานในพิธีเปิดนมัสการพระพุทธรูปองค์นี้เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2555 มองเห็นเป็นสง่าแต่ไกล บนยอดเขาท่านก๋ง อีกทั้งเป็นสถานที่สำหรับออกกำลังกาย โดยการเดิน,วิ่งขึ้นเขา ของชาวคลองใหญ่ 08 กรกฎาคม 2564 |
![]() | 28 เมษายน 2564 |
![]() | ตั้งอยู่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก เป็นหมู่บ้านสุดชายแดนติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา อยู่ปลายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) เมื่อสงครามสู้รบในกัมพูชาสิ้นสุดลงราวปี พ.ศ. 2529 ตลาดแห่งนี้นับเป็นแหล่งรับซื้อพืชพันธุ์ธัญญาหารของชาวกัมพูชาเพื่อไปขายต่อที่เกาะกง ตลาดที่บ้านหาดเล็กจะมีเฉพาะในช่วงเช้า เวลาประมาณ 07.00–08.30 น. และยังมีสินค้าราคาถูกที่มาจากประเทศกัมพูชา เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แว่นตา น้ำหอม เป็นต้น จากจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยนั่งรถแท็กซี่จากชายแดนบริเวณบ้านหาดเล็กฝั่งประเทศกัมพูชาเพื่อที่จะไปเกาะกงได้ ราคาค่าโดยสารแล้วแต่จะตกลงกัน การเดินทาง ไปบ้านหาดเล็กมีรถตู้บริการนักท่องเที่ยวที่ตัวเมืองตราดไปหาดเล็กทุกวัน รถออกทุก ๆ ชั่วโมง อัตราค่าโดยสาร 100 บาท ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง และนักท่องเที่ยวสามารถที่จะเดินทางต่อจากบริเวณด่านถาวร บ้านหาดเล็กข้ามไปนั่งรถแท็กซี่ของฝั่งประเทศกัมพูชาข้ามสะพานไปยังเกาะกงได้ ใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 45 นาที สำหรับประชาชน ชาวไทย ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอคลองใหญ่ สามารถทำบัตรผ่านแดนชั่วคราวได้ที่ ที่ว่าการอำเภอคลองใหญ่ สอบถามข้อมูลก่อนการเดินทางได้ที่ ที่ทำการอำเภอคลองใหญ่ โทร. 0 3953 4572 หรือสำนักงานจังหวัดตราด ฝ่ายข้อมูล โทร. 0 3951 2081 หมายเหตุ สำหรับนักท่องเที่ยว ชาวไทย ที่ต้องการเดินทางข้ามไปกัมพูชาควรนำบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง และวีซ่า สอบถามข้อมูลก่อนเดินทางได้ที่ จุดตรวจชายแดนบ้านหาดเล็ก โทร. 0 3958 8084 28 เมษายน 2564 |
![]() | 28 เมษายน 2564 |
![]() | การเดินทางสู่หาดบานชื่น ถนนสายหลักเพียงสายเดียวจากตัวเมืองตราดไปยังบ้านหาดเล็กซึ่งเป็นเขตสุดชายแดนไทยด้านตะวันออก ถนนสายนี้มีซอยแยกย่อยมากมายเป็นระยะๆ แต่ละซอยก็จะเป็นทางเข้าสู่ชุมชนที่อาศัยอยู่ติดชายหาด อย่างในกรณีหาดบานชื่นก็อยู่ตรงทางเข้าหมู่บ้านห้วงบอน ในระหว่างการเดินทางบนถนนสายนี้ต้องอาศัยอ่านป้ายข้างทาง เราจะเห็นป้ายที่เขียนว่าหาดบานชื่นอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งหมายถึงหาดอื่นๆ ด้วยก็เหมือนกัน ขับตามถนนสายนี้เข้าไปก็ต้องอ่านไปตามทางจะมี 4 แยกกับป้ายชี้ไปทางขวาสังเกตุป้อมเล็กๆ เป็นจุดตรวจของหมู่บ้าน 4 แยกนี้ต้องเลี้ยวขวาแล้วไปตามถนนลาดยางเล็กๆ ไปเรื่อยๆ จะเจอ 3 แยกโล่งๆ มีป้ายชี้ไปหาดบานชื่นทางขวามืออยู่ป้ายเดียวโดดเดี่ยวน่าดู
การเดินทางสู่หาดบานชื่น หลังจากเลี้ยวขวาตามป้ายรูปบนแล้วขับไปอีกไม่ไกลก็จะมีทางแยกให้เลี้ยวซ้ายลงหาดบานชื่น ตรงทางแยกจะมีป้ายชื่อรีสอร์ท ได้แก่ ปาหนันรีสอร์ท บานชื่นรีสอร์ท เป็นต้น เลี้ยวตามทางเข้าไปก็จะถึงหาดบานชื่น มีซุ้มร้านค้า ป้อมยามหาดบานชื่นแล้วก็เป็นบริเวณหาดทราย สามารถหาที่จอดได้ตามสะดวก ป้ายข้อมูลท่องเที่ยวริมหาดบานชื่นทำเป็นรูปเรือใบลำเล็กๆ สีน้ำเงิน เหมือนกับป้ายข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ของจังหวัดตราด บริเวณนี้เต็มไปด้วยกระท่อมริมหาดหลังเล็กๆ สำหรับนั่งพักผ่อนและสั่งอาหารจากร้านมานั่งกินรับลมชมวิวแบบสบายๆ
บรรยากาศริมหาดบานชื่น ด้วยความที่หาดแห่งนี้มีความยาวมาก มีร้านอาหารมาเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวกันเยอะโดยเฉพาะในช่วงวันหยุดที่ไม่ใช่ฤดูมรสุม ผมก็เลยเดินๆ สำรวจไปเรื่อยๆ จะหาภาพบรรยากาศของริมหาดบานชื่นแบบต่างๆ กันมาให้ชม เริ่มตรงกระท่อมริมหาดนี้ก่อนดีกว่า กระท่อมนี้เป็นบริเวณของร้านอาหารชื่อ ซีไซด์คิทเช่น ใกล้ๆ กันมีซุ้มสำหรับติดต่อที่พักปาหนันรีสอร์ท แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดตราดเมื่อเข้าสู่ฤดูมรสุมในช่วงเดือนพฤษภาคม นักท่องเที่ยวจะมีจำนวนน้อยเพราะลงเล่นน้ำไม่ได้ คลื่นสูง น้ำทะเลไม่ใส
ระเบียงริมหาดบานชื่น เป็นกระท่อมหลังเดิมแต่เปลี่ยนมุมถ่ายรูปครับ ร้านอาหารร้านนี้นอกจากจะตกแต่งเป็นแบบกระท่อมแล้ว ยังมีระเบียงโล่งๆ กับโต๊ะที่จัดเป็นชุดๆ เรียงรายไปตามความยาวของหาดไปจนสุดเขตของร้าน เลียบชายหาดบานชื่นจะมีสร้างเขื่อนกันน้ำทะเลกัดเซาะ มีทางเดินลงบันไดไปหาดทรายเป็นระยะๆ แต่ความสูงของเขื่อนก็ไม่สูงมากนักหากไม่มีปัญหาที่ข้อเข่าก็เดินลงตรงที่ไม่มีบันไดก็ได้ ริมหาดบานชื่นนอกจากจะอาศัยร่มเงาของกระท่อมริมหาดของร้านอาหารก็จะมีแนวต้นสนสลับกับมะพร้าวจำนวนมากยาวตลาดหาดเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามเคียงคู่อยู่กับทรายขาวสะอาดและน้ำทะเลสีคราม
โต๊ะริมหาดบานชื่น อีกสไตล์หนึ่งของการจัดร้านต้อนรับนักท่องเที่ยว ดูเป็นคนละสไตล์กับการนั่งในกระท่อม เหมาะกับการนั่งรับลมแบบสบายๆ ริมหาด โต๊ะใหญ่สำหรับมาเป็นกลุ่ม วิวหาดบานชื่น หาดทรายสีขาวที่ทอดยาวสุดสายตา หาดบานชื่นจึงนับว่าเป็นหาดที่สวยที่สุดของจังหวัดตราดแม้การเดินทางจะมีถนนไม่ค่อยดีนัก และระยะห่างจากถนนหลักที่ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาหลายรอบ แต่ก็ยังดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาแวะเวียนได้ตลอดเป็นจำนวนไม่น้อยในวันหยุด
ความร่มรื่นของสนหาดบานชื่น เดินออกมาที่หาดทรายมองเข้าไปที่ทิวสน เก็บภาพบรรยากาศริมหาดบานชื่นมาให้ชมกันเพียงส่วนหนึ่งเล็กๆ ใกล้ๆ บานชื่นรีสอร์ท หาดแห่งนี้ยังทอดยาวไปอีกไกลมาก แต่ละร้านก็มีการสร้างศาลาเป็นปูนบ้าง เป็นกระท่อมไม้บ้างเพื่อให้เราได้เลือกตามความชอบ เดี๋ยวจะพาขับไปชมให้สุดหาดเลยละกันครับ
บานชื่นรีสอร์ท ตรงนี้เป็นจุดติดต่อที่พักริมหาดบานชื่น รีสอร์ทชื่อเดียวกันกับหาด เพราะเจ้าของรีสอร์ทและเจ้าของหาดส่วนตัวเป็นคนคนเดียวกัน เดิมชื่อหาดมะโร ต่อมาเจ้าของที่ดิน ดต.บัญญัติ ใจมีธรรม บริจาคที่ดินหน้าหาด จำนวน 14 ไร่ ให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2527 ขณะนั้น นายทองดำ บานชื่น เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ถ้าเราลองคิดอีกมุมหนึ่ง การเป็นเจ้าของหาดทรายขาวเป็นแนวยาวๆ แบบนี้คงจะจัดการเพียงเจ้าเดียวได้ไม่ดีเท่ากับการเปิดให้กับร้านอาหารต่างๆ มาเปิดด้วย เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวว่าจะเลือกนั่งบริเวณไหนของหาด อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชนละแวกนี้ พูดถึงความเป็นหาดส่วนตัวของเจ้าของรีสอร์ท หาดอื่นๆ ในจังหวัดตราดอีกจำนวนมากก็มีลักษณะเช่นเดียวกันคือเป็นหาดส่วนตัว ส่วนเจ้าของที่จะเปิดเป็นที่ท่องเที่ยว รีสอร์ท หรือปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของหาด มีเพียงหาดราชการุณย์ที่เป็นของหน่วยงานราชการคือสภากาชาดไทย ตลอดระยะทางกว่า 70 กิโลเมตร ตั้งแต่หาดลานทรายไปจนถึงหาดสนจะคล้ายกันหมด ประกอบด้วยหาดต่างๆ นับจากใกล้ตัวเมืองตราดที่สุดเรียงลำดับไป ได้แก่ 28 เมษายน 2564 |
ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1 (6 รายการ)