|
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร ประชากรในพื้นที่ร้อยละ ๗๐ มีอาชีพการประมงพื้นบ้าน ร้อยละ ๒๕ มีอาชีพรับจ้างเกี่ยวกับการประมง และร้อยละ ๕ มีอาชีพค้าขาย/รับจ้างทั่วไป การตั้งถิ่นฐานมักจะอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ แยกครอบครัวบ้างเล็กน้อย รายได้เฉลี่ยของประชากรประมาณ ๔๐,๐๐๐ – ๕๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี
๒) สถานประกอบการเทศพาณิชย์
๓) สถานประกอบการด้านบริการ
สภาพทางเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร ประชากรในพื้นที่ร้อยละ ๗๐ มีอาชีพการประมงพื้นบ้าน ร้อยละ ๒๕ มีอาชีพรับจ้างเกี่ยวกับการประมง และร้อยละ ๕ มีอาชีพค้าขาย/รับจ้างทั่วไป การตั้งถิ่นฐานมักจะอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ แยกครอบครัวบ้างเล็กน้อย รายได้เฉลี่ยของประชากรประมาณ ๔๐,๐๐๐ – ๕๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี
การเกษตรกรรม ลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ มักเป็นการปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ดเพื่อขายไข่ และใช้ประกอบอาหาร ไม่เป็นอาชีพหลัก เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลคลองใหญ่เป็นที่ราบแคบๆ และเล็กเรียวตลอดแนวพื้นที่ส่วนใหญ่ติดทะเล จึงมักจะต้องสั่งซื้อหรือนำเข้าผลิตผลทางเกษตรจากตัวจังหวัดตราดหรือจังหวัดใกล้เคียงมาขายต่อ การพาณิชยกรรมและบริการแสดงประเภท/จำนวนสถานประกอบการด้านการพาณิชยกรรมและการบริการ ได้แก่
๑) สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
ก. สถานีบริการน้ำมัน ไม่มี
ข. ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า ไม่มี ส่วนใหญ่เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านขายของชำ
ค. ตลาดสด จำนวน ๑ แห่ง โดยเทศบาลตำบลคลองใหญ่เป็นผู้ดูแล
ง. ร้านค้าทั่วไป จำนวนประมาณ ๑๓๐ ร้าน

๒) สถานประกอบการเทศพาณิชย์
ก. สถานธนานุบาล ไม่มี
ข. ท่าเทียบเรือเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่(นอกเขตเทศบาลแต่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบเทศพาณิชย์)
๓) สถานประกอบการด้านบริการ
ก. โรงแรม ๒ แห่ง จำนวนห้องพักรวม ๖๐-๗๐ ห้อง
ข. ธนาคาร ๕ แห่ง
ค. สถานที่จำหน่ายอาหารตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข ๑๕ ร้าน
การอุตสาหกรรม ไม่มี
ส่วนใหญ่เป็นร้านซ่อมเครื่องยนต์ เรือยนต์ และรถจักรยานยนต์ จำนวน ๑๒ ร้าน และร้านทำน้ำแข็งหลอดขนาดเล็ก จำนวน ๑ แห่ง
การท่องเที่ยวในพื้นที่ ไม่มี สถานที่ที่จะดึงดูดประชาชนต่างพื้นที่ได้มากนัก ส่วนใหญ่จะเดินทางข้ามไปประเทศกัมพูชาและแวะเข้ามาซื้ออาหารหรือดูพื้นที่ เช่น แม่น้ำหรือลำคลอง